กัญชา พืชที่อยู่ร่วมกับคนไทยมาเนิ่นนานร่วมร้อยปี คนส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับกัญชาในภาพของยาเสพติดที่ให้โทษมากกว่าประโยชน์ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาพของกัญชาในสายตาหลาย ๆ คนเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากที่ประเทศไทยได้มีการอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมาย และล่าสุดก็ได้มีการประกาศปลดล็อกกัญชาพ้นยาเสพติด และสามารถปลูกพืชชนิดนี้ได้ในปริมาณที่กำหนด ทำให้คนที่ยังไม่รู้จักกัญชามากพอ เกิดคำถามตามมาอีกมากมายว่าเจ้ากัญชานี้จะมีประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน มาทำความรู้จัก กัญชา พืชที่เป็นมากกว่ายาเสพติดนี้กันได้เลย
กัญชา ประโยชน์มากมาย แต่ทำไมถึงต้องควบคุม
กัญชา เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ในวงศ์ Cannabidaceae จะมี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อยคือ Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis rudealis โดยสายพันธุ์ที่พบส่วนมากในประเทศไทยจะเป็นสายพันธุ์ Cannabis sativa กัญชานั้นมีอีกชื่อที่เป็นที่รู้จักก็คือ มาลีฮวนน่า (Maleehuana) มาจากภาษาเม็กซิกัน เริ่มค้นพบหลักฐานการนำเอากัญชามาใช้รักษาโรคในประเทศจีนเมื่อ 2600 ปีก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเสินหนิง (Shen Nung) ของจีนที่เป็นผู้ค้นพบวิธีการชงชา ซึ่งพระองค์ได้อธิบายสรรพคุณทางยาของกัญชาในตำรายาสมุนไพรจีนเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1839 โดย William O’Shaughnessy นายแพทย์ชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงจากผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายด้านเภสัชวิทยาเคมี ในขณะที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ที่ประเทศอินเดียอยู่นั้น ได้ค้นพบว่ากัญชานั้นมีสรรพคุณที่สามารถใช้ระงับอาการปวด เพิ่มความอยากอาหาร ลดการอาเจียน คลายกล้ามเนื้อ และลดอาการชักได้ จึงได้มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปทางวารสารวิชาการในสมัยนั้น ทำให้เริ่มมีการนำกัญชาทางการแพทย์อย่างแพร่หลายในแถบประเทศตะวันตก และสามารถซื้อขายกัญชาในร้านขายยาเพื่อการักษาโรคกันได้อย่างเต็มที่โดยไม่ผิดกฎหมายอีกด้วย แถมยังมีบันทึกทางประวัติศาสตร์เอาไว้ด้วยว่า แพทย์ได้ทำการสั่งจ่ายกัญชาให้กับพระราชินีวิคตอเรียเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ถือว่าการใช้กัญชาในสมัยนั้นเป็นที่ให้การยอมรับอย่างแท้จริง
แต่ต่อมา เริ่มมีการพบว่าผู้ที่ใช้กัญชาเป็นประจำนั้นมีการอาการขาดสติ คุ้มคลั่ง บางรายที่มีอาการรุนแรงก็ถึงขั้นประสาทหลอนจนก่อเหตุอาชญากรรมรุนแรง จึงได้มีการยื่นถอดถอนกัญชาออกจากทะเบียนยา ยกเลิกการนำมาใช้รักษาโรค และควบคุมการซื้อขายไม่ให้สามารถซื้อได้อย่างเสรี จากนั้นจึงมีการขึ้นทะเบียนกัญชาว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนั้น กัญชาถูกจัดว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งผู้ใดที่มียาเสพติดประเภทนี้ไว้ในครอบครองทั้งเสพและจำหน่ายจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
หลังจากนั้นได้มีประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 อนุญาตให้สามารถนำกัญชามาใช้ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนาการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ แม้ว่ากัญชาจะอยู่ในกลุ่มสารเสพติด แต่ว่าก็ยังมีประโยชน์ในด้านการแพทย์อย่างมากมาย ด้วยตัวสรรพคุณที่สามารถใช้รักษาโรคที่มีความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องมีการควบคุมให้ใช้ได้โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
กัญชารักษาโรค อะไรได้บ้าง
ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การรักษาโรคย่อมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามคิดค้นวิธีการรักษาและสูตรยาใหม่ ๆ เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น เจ้าตัวกัญชานี้ก็เช่นกัน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้มีการค้นคว้ากันมาอย่างต่อเนื่องถึงสรรพคุณที่สามารถนำมารักษาโรคต่าง ๆ ได้ จากการศึกษาพบว่ากัญชามีส่วนประกอบของสารเคมีมากกว่า 450 ชนิด โดยมากกว่า 105 ชนิดเป็นสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มีองค์ประกอบหลักคือ THC (Tetrahydroconnabinol) ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเคลิ้มและมีอาการ High อีกด้วย แถมร่างกายของคนเรานั้นสามารถสลายสาร THC นี้ได้ค่อนข้างช้า ทำให้รู้สึกมึนเมาเป็นเวลานาน แต่ทางการแพทย์ก็ยังเล็งเห็นประโยชน์ของสาร THC นี้ เพราะเจ้าสารนี้มีฤทธ์ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ลดอาการเจ็บปวดได้ดี จึงได้มีการนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ อาการเจ็บปวดเรื้อรัง การอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ อาการข้างเคียงของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้ทำการรักษาด้วยคีโมฯ โรควิตกกังวล เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ได้พยายามทำการทดลองและค้นพบว่ากัญชานั้นมีฤทธ์ที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ถือว่าเป็นการค้นพบที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยในปี 2518 มีนักวิจัยกลุ่มแรกสามารถค้นพบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหนูทดลองได้ ซึ่งสารสกัดนี้จะยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดของก้อนมะเร็งและยังช่วยลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ อีกด้วย เป็นการกระตุ้นทำให้เกิดโปรแกรมการตายของเซลล์มะเร็งซึ่งจะทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ในปัจจุบันยังคงมีการศึกษาสารสกัดชนิดนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง และมีการนำเอามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อผลิตยาต้านมะเร็ง เช่น Paclitaxel และ ยา 5-Fluorouracil
กัญชา vs กัญชง ต่างกันอย่างไร
เมื่อมีการประกาศปลดล็อกกัญชาเกิดขึ้น ผู้คนทั่วไปจึงเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำกัญชามาใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วย แต่ก็ยังมีความสับสนกับพืชอีกหนึ่งชนิดที่มีชื่อคล้ายกันซึ่งก็คือ กัญชง โดยพืช 2 ชนิดนี้เป็นพืชในสายพันธุ์เดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ย่อย มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเมล็ดกัญชงมีโปรตีนสูงและน้ำมันในเมล็ดกัญชงมีกรดไขมัน Omega-3 แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ในกัญชงนั้นจะพบสาร CBD (Cannabidiol) เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท แต่ก็ไม่มากพอให้มึนเมา จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เสพ แต่ก็ยังมีประโยชน์ทางด้านการแพทย์ในการช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ลมบ้าหมู อาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการพาร์กินสัน อาการซึมเศร้า โรคเบาหวาน อาการทางจิตเภทต่าง ๆ การลงแดงจากสารเสพติด และอาการเจ็บปวดเรื้อรังจากมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งในวงการแพทย์ก็ยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการนำเอาพืชทั้ง 2 ชนิดนี้มาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
และในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชงหลากหลายรูปแบบออกมาให้พวกเราได้ทดลองใช้ และรับรู้ถึงข้อดีที่ซ่อนอยู่ของกัญชา ถึงแม้ว่ากัญชาจะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและมาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก่อนที่จะเลือกใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาใด ๆ เราควรทำการค้นคว้าศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน ซึ่งสามารถหาอ่านดูได้อย่างง่ายดายตามเว็บไซต์ต่าง ๆอย่างเช่น Bloom ซึ่งมีการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับกัญชา คำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกด้วย
ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงจากการใช้กัญชา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากัญชานั้นจะดูมีประโยชน์มากมาย แต่ก็อย่าลืมว่าพืชชนิดนี้ก็เป็นหนึ่งในสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและผลข้างเคียงก็มีไม่น้อยเช่นกัน การนำกัญชามารักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่ทำการรักษาเท่านั้น ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาหรือสารสกัดจากกัญชาเลยก็คือกลุ่มคนที่มีครรภ์ หรือแม่ที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร และผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในกลุ่มจิตเวช เพราะสารที่อยู่ในกัญชาจะไปกระตุ้นอาการทางประสาทให้มีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่มีคำแนะนำจากแพทย์ให้ใช้ได้ ก็จะต้องเริ่มต้นจากการใช้ในปริมาณน้อยก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มตามลำดับการรักษา และจะต้องสังเกตอาการของตัวเองว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่ อาการข้างเคียงที่จะพบได้บ่อย ๆ เช่น อาการมึนงง ง่วงซึม มึนหัว ปากแห้ง อาการตาพร่าจนมองเห็นไม่ชัดเจน อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่านี้ เช่น อาการซึมเศร้า มึนหัวจนเดินเซ อาเจียน ท้องร่วง อาจจะต้องหยุดการรักษาประเภทนี้ไปก่อน และปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อหาวิธีรักษาแบบอื่นต่อไป